สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จีสด้า) ผสานการดำเนินงานร่วมกัน เดินหน้าผนวกหลักการด้านพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กับ PIM สถาบันการศึกษาที่มีความเป็น Corporate University หรือมหาวิทยาลัยโดยองค์กรธุรกิจอย่างเต็มตัว นับเป็นหนึ่งความร่วมมือทางการศึกษาเป็นแห่งแรกในระดับอุดมศึกษาของไทย เพื่อสนับสนุนนำประโยชน์ของข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม มาประยุกต์ให้มีความเอื้อต่อการจัดการด้านการศึกษา บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในคณะต่างๆ ที่ PIM เปิดสอนอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในระยะแรกนี้จะมีความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอนกับทางคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร (The Faculty of Innovative Agricultural Management : IAM) ซึ่งโดยหลักสูตรได้เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ถูกออกแบบ ในเชิงภาคทฤษฎีควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงานจริง (Work-based Learning) รวมถึงให้บริการด้านการศึกษาและวิชาการ เพื่อต่อยอดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการจัดการเกษตรอันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสององค์กร การพัฒนาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและความรู้ทางวิชาการ สู่การเป็นนักจัดการการเกษตรแนวใหม่ที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้อย่างมืออาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการ ชุมชน และ สังคม ประเทศชาติต่อไป
ในด้านการพัฒนาบุคลากร สทอภ.จะสนับสนุนวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลดาวเทียม และ GIS เพื่อการฝึกอบรมแก่คณาจารย์และนักศึกษาในคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมทั้งรับนักศึกษาฝึกงาน เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงในภาคสนามด้านนวัตกรรมการจัดการเกษตร (IAM 2601) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2557
รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า “ในปีการศึกษาที่ผ่านมา PIM เปิดการเรียนการสอน คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสถาบันของรัฐ และองค์กรภาคธุรกิจเอกชน พันธมิตรในวงการเกษตรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการเรียนการสอนในทุกมิติให้สมบูรณ์ ความร่วมมือกับ GISTDA ครั้งนี้นับเป็นความโชคดียิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นสถาบันฯ แห่งแรกของอุดมศึกษาในประเทศไทย ร่วมกันนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย บูรณาการศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม ใช้ให้เกิดประสิทธิผลในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม สร้างเยาวชนให้มีความรู้แบบองค์รวมด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern Technology) และเด่นด้านนวัตกรรม (Innovation) ภายใต้ความร่วมมือ อาทิ การเรียนการสอน การทำวิจัย ผ่านวิธีการสนับสนุนให้คณาจารย์ของสถาบันฯ นำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการทำวิจัยด้านต่างๆ ร่วมกันกับ สทอภ., การฝึกอบรมแลกเปลี่ยนวิทยาการซึ่งกันและกัน